GO Sufficiency Sustainability

"คุณธรรม นำ ความรู้ สู่ความยั่งยืน"

โครงการ “ร่วมสร้างทศวรรษความพอเพียงยั่งยืน”

ดร.ณัฐวัฒน์  อริย์ธัชโภคิน กรรมการผู้อำนวยการ www.BeeyondBZ.com

  

ที่มาของโครงการ

          เนื่องมาจาก ในปี พ.ศ.2567  เป็นปีที่ครบรอบ 50 ปี นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9  ทรงพระราชทานเมล็ดพันธุ์แรกแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยความพอเพียงแก่สังคมไทย

           ดังนั้น ชมรมสื่อเพื่อความยั่งยืน   จึงเห็นสมควรจัดกิจกรรม “ร่วมฉลอง 50 ปีเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมก้าวสู่การพัฒนาพอเพียงยั่งยืน”  เพื่อชวนเชิญให้ทุกภาคส่วนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณฯของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  และมีส่วนร่วมส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งให้คนไทยสามารถน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาพัฒนาสังคมไทยให้เจริญมั่นคงถาวรสืบไป

กิจกรรมในโครงการ ประกอบด้วย

          กิจกรรมที่ 1. การจัดสำรวจ “รางวัลยอดยั่งยืน” (Super ESG Sustainable Awards)

          กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาองค์กรดีเด่น ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน และนำมาประกาศเชิดชูให้สาธารณะทราบ รวมถึงให้หน่วยงาน/องค์กรอื่นสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูล เช่น การส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจที่มีคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตให้เป็นคู่ค้า หุ้นส่วนทางธุรกิจ ฯลฯ

          กิจกรรมที่ 2.การเผยแพร่สารสนเทศ “ดาวพอเพียงยั่งยืน” (Super ESG Sustainable Stars)

          กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ เชิดชูองค์กรที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ดำเนินงานให้เกิดความยั่งยืน โดยเผยแพร่สารสนเทศให้สาธารณชนทราบ และนำไปเป็นแบบอย่าง  

          กิจกรรมที่ 3.ร่วมมือ และ สนับสนุนกิจกรรมอื่นๆ ด้านการพัฒนาอย่างพอเพียงยั่งยืนของ องค์กรและ หน่วยงาน ที่เข้าร่วมในโครงการ เช่น การจัดฝึกอบรมพิเศษ ฯลฯ

 
********************************
 
  "การพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
   นิยามการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริง"
          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานเมล็ดพันธุ์แรกแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่คนไทย คือ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 หรือ 50 ปีมาแล้ว
แนวพระราชดำริของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริครั้งแรก ในพระบรมราโชวาทพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ความว่า
          "...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกินพอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคง พร้อมพอควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป..."
และต่อมาได้ทรงเน้นย้ำ ในพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตดาลัย วันที่ 4 ธันวาคม 2517 ว่า
          "...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่ พอมี พอกิน และขอให้ทุกคน มีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่ พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่ จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศ อื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้..."
          ตลอดเวลาที่ผ่านมา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกน้อมนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ เพื่อสร้างความสมดุลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนแก่บุคคล องค์กรทุุกภาคส่วนทุกระดับ จนถึงสังคมระดับชาติและนานาชาติ
          หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิถีไทยทั้งในด้านการพัฒนา และการบริหาร บน "ทางสายกลาง" ผู้ปฏิบัติต้องมีคุณลักษณะที่เป็นฐานรากคือ มีความรู้ ทั้งรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง และ มีคุณธรรม ได้แก่ความซื่อสัตย์สุจริต มีสติปัญญาและความเพียร โดยมีวิธีปฏิบัติที่สำคัญ 3 ประการ คือความพอประมาณ การมีเหตุผลและภูมิคุ้มกันที่ดี พร้อมเผชิญรับมือกับวิกฤตและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นั้น
           เท่าที่ได้ทำการศึกษา เห็นว่า ผู้คนและองค์กร ที่ปฏิิบัติตนตามแนวทางดังกล่าวอย่างถูกต้อง จริงจัง มีความเพียร ไม่ย่อท้อก็มักประสบความสำเร็จ แต่จะช้าหรือเร็วต่างกันไปบ้าง และแม้เจออุปสรรคก็เซน้อยกว่าคนอื่น ฟื้นตัวได้เร็วกว่า
แต่ความเป็นจริงในสังคมไทย คนที่ไม่เข้าใจ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยังมีอีกมาก เมื่อปฏิบัติไม่ถูกต้องไม่ได้ผลดังใจ ก็อาจโวยวายติเตียน
          บางคนก็ทำเป็นไม่เข้าใจ อาจด้วยมีงานที่รับมา หรือมีผลประโยชน์ที่ทำให้ต้องอยูู่ฝ่ายตรงข้าม เพราะความพอเพียง ที่เน้นความพอดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและธรรมชาติมาก เป็นอุปสรรคสำคัญของ ฝ่ายทุนนิยมฝ่ายบริโภคนิยมสุดโต่ง ที่โลดแล่นด้วยความโลภมาก การเบียดเบียนคนอื่น เบียดเบียนทรัพยากรและธรรมชาติมาก
ผู้มีปัญญา สมควรมีเมตตา เป็นกัลยาณมิตร ชี้แนะความคิดเห็นที่ถูกต้องแก่ ผู้ยังยึดในอวิชชา แต่ถ้าเขายังเห็นผิดเป็นชอบ ก็คงต้องอุเบกขา ปล่อยให้เขาเป็นไปตามกรรมของตนเอง ทั้งกฎทางสังคมโลกและกฎแห่งกรรม
          ในฐานะคนไทย พวกเราควรรู้รักสามัคคี ร่วมใจพัฒนาสร้างสังคมไทยสู่ความยั่งยืนด้วยความพอเพียง ให้เป็นที่ประจักษ์ จนสามารถสร้างการยอมรับในเนื้อแท้ความสำเร็จของการพัฒนาอย่าง "พอเพียงยั่งยืน" ในที่สุด.
May be a graphic of text that says 'พอเพียงยั่งยืน ยั่ง ยืน WWW.BEEYONDBZ.COM'